บทความ

Rapid Antigen Test ชุดตรวจ COVID-19 อย่างเร่งด่วน

Rapid Antigen Test ชุดตรวจ COVID-19 อย่างเร่งด่วน

Rapid Antigen Test คืออะไร เป็นชุดตรวจมาตรฐาน ที่โรงพยาบาลนำมาใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคโควิด คือ การตรวจหาเชื้อแบบรวดเร็ว Rapid Antigen Test (Nasopharyngeal Swap) เก็บตัวอย่างในระบบทางเดินหายใจ เหมือนการตรวจด้วยวิธี RT-PCR สามารถตรวจพบในระยะที่มีเชื้อปริมาณมากในร่างกาย โดยเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ก่อนเข้ากระบวนการตรวจชนิดยืนยันผลจากห้องปฏิบัติการ

 

 

 


ข้อดีคือ


• ตรวจง่าย รู้ผลเร็วภายใน 5-8 นาที
• แถบแสดงผลตรวจ​อ่านเข้าใจง่าย​
• เหมาะสำหรับการประเมินความชุกและการติดเชื้อ

 

 

ชุดตรวจ Rapid Antigen Test เหมาะกับใครบ้าง

 

  • ผู้ที่ต้องการคัดกรองตัวเองเบื้องต้น โดยไม่จำเป็นต้องไปเสี่ยงรับเชื้อที่โรงพยาบาล
  • ผู้ที่ต้องการตรวจหาเชื้อโควิคแบบไม่แสดงอาการ ลดการติดเชื้อกระจายสู่คนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน
  • ใช้ตรวจคัดกรองเบื้องต้นได้อย่างดี เช่น พนักงานบริษัท หรือแหล่งชุมชนต่างๆ ตรวจแบบเชิงรุกได้อย่างดี


 

 

ข้อควรรู้ก่อนตรวจ

 

  • การตรวจหาเชื้อด้วย​ Rapid​ Antigen​ Test​ ต้องรับเชื้อมาแล้ว 5-14 วัน ถึงจะได้ผลที่แม่นยำ
  • ** หากตรวจนอกเหนือจากเวลาดังกล่าวอาจให้ผลที่ไม่แม่นยำนัก **
  • ในช่วงระยะเวลา​ 5​ วันแรก​ จะเริ่มตรวจพบเชื้อ​ ทั้งนี้ในผู้ป่วยบางราย ต้องทำการตรวจซ้ำนะครับ
  • และเมื่อตรวจช่วง​ 5​-14​ วัน​​ หากพบเชื้อ สามารถไปตรวจด้วยวิธี RT-PCR ต่อเพื่อยืนยันผลที่แน่นอน
  • แต่หากหายป่วยแล้ว จะตรวจไม่พบเชื้อในวิธี​ Rapid​ Antigen​ Test​ นะครับ​

 

 

 

สิ่งที่มีในชุดตรวจ

 

  • ตลับทดสอบ
  • ก้านสำลีสำหรับ SWAB
  • หลอดใส่น้ำยาสกัด
  • ฝาหลอดหยด
  • เอกสารกำกับชุดตรวจ
  • มีน้ำยาตรวจแยกเป็นถ้วยซีลใช้ทุกชุด ไม่ต้องแบ่ง ไม่ต้องกังวลเรื่องปนเปื้อน ใช้เฉพาะของแต่ละคน
  • อุปกรณ์สำหรับทิ้งขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธี

 

วิธีเก็บตัวอย่างเชื้อ

 

           ให้ผู้ป่วยแหงนหน้าขึ้นประมาณ 30-45 องศา ถือก้านพลาสติกตั้งฉากกับใบหน้า สอดก้านพลาสติกเข้าในรูจมูก เหนือฐานของช่องจมูก แยงขนานกับฐานของเพดานปากตามแนวรูจมูกกับรูหูหรือบริเวณติ่งหู เข้าไปตรงๆ เอียงด้านข้างได้เล็กน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงชนผนังกั้นช่องจมูก เข้าไปลึกประมาณ 9-12 เซนติเมตร


           อย่าแยงขึ้นข้างบนในทิศทางของตา อย่าแยงเอียงเข้าด้านใน (medial) มากเกินไป จะไปโดนผนังกั้นช่องจมูก จะทำให้เจ็บมากและอาจทำให้จามได้ อย่าแยงเอียงไปด้านข้าง (lateral) มากเกินไป จะไปโดนกระดูกเทอร์บิเนต ทำให้เก็บตัวอย่างได้ไม่เพียงพอ เมื่อส่วนปลายของก้านพลาสติก swab อยู่ในตำแหน่งหลังโพรงจมูก (posterior nasopharynx)ให้หมุน 2-3 รอบ ดึงก้านพลาสติกออก ใส่ในหลอดเปล่า แล้วนำส่งห้องปฎิบัติการ


           บางคนมีผนังกั้นจมูกคด หรือมีริดสีดวงจมูก ทำให้ช่องในจมูกแคบ สอดก้านพลาสติกผ่านเข้าหลังโพรงจมูกไม่ได้ อย่าฝืนทำต่อ ให้เปลี่ยนมาสอดรูจมูกอีกข้างแทน

 

 

 

 

***ขอบคุณ​ข้อมูล​จากเพจหมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC***

วิธีทดสอบ

  • นำก้านสำลีที่ swab เก็บเชื้อแล้ว จุ่มลงในหลอดมีสารละลายตรวจเชื้อ (diluent) หมุนวนอย่างน้อย 5-10 ครั้ง
  • นำ swab ออกมาจาก diluent โดยบีบส่วนปลายสำลีให้แห้งผ่านหลอด ***เน้นย้ำว่า ต้องไม่ให้มือสัมผัสกับก้านสำลีหรือสารที่เก็บเชื้อมา
  • จากนั้นนำก้านสำลีทิ้งใส่ซีล ปิดล็อคให้เรียบร้อย
  • ปิดหลอด diluent ด้วย filter cap ทันที
  • คว่ำหลอด diluent และบีบหยดสารละลายลงในหลุมทดสอบของแท่นตรวจ 3-4 หยด
  • รออ่านผล 5-8 นาที


*** ทั้งนี้ ทั้งขั้นตอบการเก็บตัวอย่างเชื้อและขั้นตอนการทดสอบตรวจเชื้อ ควรทำความสะอาดพื้นผิวที่จะวางชุดตรวจให้ดี ควรใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อด้วย ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ หรือ เจลล้างมือทุกครั้งก่อนตรวจ ***

 

 

 

วิธีอ่านค่าผลตรวจ


หลังจากรอ 5-8 นาทีแล้ว ให้อ่านค่าจากผลตรวจ
โดยตัวอักษร C หมายถึงแถบควบคุม (สีแดง) และตัวอักษร T หมายถึง ทดสอบ (สีดำ)
โดยมีวิธีการอ่านผลตรวจ ดังนี้

 

  • หากมีแค่ขีดเดียวสีแดงตรงตัวอักษร C แปลว่าผลตรวจเป็นลบ (Negative)​ = ไม่ติดเชื้อ
  • หากมี 2 ขีดตรงตัวอักษร C สีแดง และ T สีดำ แปลว่า ผลตรวจเป็นบวก (Positive)​ = ติดเชื้อ
  • หากไม่มีขีดที่ตัว C เช่น ปรากฎแค่ตรง T สีดำ หรือไม่มีขีดเลย แปลว่าผลตรวจใช้ไม่ได้ ควรตรวจหาเชื้อใหม่อีกครั้ง โดยทำตามคำแนะนำในคู่มืออย่างเคร่งครัด

 

 

หากผลตรวจพบว่าติดเชื้อ ต้องทำอย่างไร

  • แจ้งหน่วยบริการใกล้บ้าน
  • แจ้งคนที่อยู่ใกล้ชิดให้ทดสอบเชื้อต่อ
  • กักตัวแยกจากผู้อื่น ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกัน แยกห้องน้ำ สวมหน้ากากอนามัย เลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง
  • หากหายใจติดขัด ให้รีบติดต่อขอรับการรักษา
  • หากไม่ติดเชื้อ แต่เป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ควรทดสอบอีกครั้งใน 3-5 วัน ระหว่างนั้นพยายามแยกห่างจากผู้อื่น และถ้ามีอาการของ COVID-19 ให้ทำการทดสอบอีกครั้งนึง

 

วิธีทิ้งชุดตรวจ


          หลังจากใช้ชุดตรวจเสร็จแล้ว ควรเก็บไปทิ้งให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันเชื้อฟุ้งกระจายและแพร่ระบาดสู่ผู้อื่น ปฏิบัติตามคำแนะนำในการทิ้งชุดตรวจ ดังนี้

  • ใส่ชุดตรวจที่ใช้แล้วในถุงซีล พร้อมปิดล็อคมิดชิด ไม่ให้ขยะหลุดลอดออกมาได้​ หรือใส่ถุงพลาสติก​ 2​ ชั้น
  • พ่นด้วยแอลกอฮอล์​ 70%ขึ้นไป
  • ใส่ขยะในถุงสีแดง เฉพาะสำหรับใส่ขยะติดเชื้อ โดยมีป้ายขยะติดเชื้อแปะกำกับอยู่